หจก.ถาวรประปาอุดร(1988)
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

สาระน่ารู้จากกรมทรัพยากรน้ำบาดาล 

ความหมายของบ่อบาดาล(Ground Water Well) 

ในทางวิชาการ หมายถึงรูหรือปล่องที่ขุดหรือเจาะลงไปถึงชั้นน้ำบาดาลเพื่อประสงค์ที่จะเอาน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ ฉะนั้นในทางวิชาการจึงไม่กำหนดความลึกของบ่อเอาไว้ว่าบ่อลึกเท่าใดจึงจะเรียกว่าบ่อน้ำธรรมดา บ่อลึกเท่าใดจึงจะเรียกว่าบ่อบาดาลผู้อ่านที่อ่านเรื่องการกำเนิดและชั้นน้ำบาดาลมาแล้วคงจะยังจำได้ว่าชั้นน้ำบาดาลและระดับน้ำใต้ดินนั้นอาจจะอยู่เสมอระดับผิวดินต่ำกว่าผิวดินเพียงเมตรเดียว หรือหลายสิบเมตรก็ได้ ฉะนั้นบ่อทุกบ่อไม่ว่าลึกเท่าใดหากขุดหรือเจาะลงไปถึงชั้นน้ำก็เรียกว่าบ่อบาดาลได้ แต่ในทางความเข้าใจของคนทั่วไป คำว่า บาดาล ให้ความรู้สึกว่าอยู่ลึก แต่จะลึกเท่าใดไม่มีมาตรการใดจะบอกได้จึงให้ความเห็นหรือความหมายของบ่อบาดาลแตกต่างกันไป ในความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ บ่อบาดาลตามความหมายที่คนทั่วไปเข้าใจได้น่าจะหมายถึงบ่อทุกประเภทที่ใช้เครื่องเจาะเจาะลงไปเพื่อเอาน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ได้ โดยมีปริมาณพอใช้ตลอดปี

การมีหรือการเจาะบ่อบาดาลและสูบน้ำออกมาได้ตามความมุ่งหมายถือเป็นจุดหมายปลายทางของงานน้ำดาลที่ได้เริ่มต้นมาตั้งแต่การสำรวจการวางแผน และการเจาะบ่อบาดาลที่ดีจะต้องเป็นผลเนื่องมาจากการสำรวจและวางแผนได้ดีใช้เครื่องเจาะถูกต้องพัฒนาบ่อถูกหลักและนำน้ำขึ้นมาใช้ด้วยวิธีการที่เหมาะสมตามหลักการด้านชลศาสตร์ของบ่อต่อไปนี้ จะได้กล่าวถึงสาระสำคัญของบ่อน้ำบาดาลเป็นเรื่อง ๆไปโดยย่อ

การเลือกที่เจาะ

การเลือกที่เจาะที่ถูกหลัก ในท้องที่ที่ไม่เคยเจาะน้ำบาดาลมาก่อนหรือในท้องที่ที่ชั้นน้ำเป็นหินแข็งจะต้องใช้ความรู้ทางวิชาการประกอบกับผลที่ได้จากการสำรวจด้วยวิธีการต่างๆที่กล่าวข้างต้น วิชาการส่วนใหญ่ที่ใช้ประกอบในการเลือกที่เจาะ คือความรู้ทางธรณีวิทยา และอุทกวิทยาน้ำบาดาลในบริเวณที่จะเจาะการเจาะบ่อขนาดใหญ่ที่ต้องการน้ำมาก ๆ ในบางแห่งยังต้องมีการเจาะบ่อทดสอบ( Test hole ) ดูเสียก่อน 2 – 3 บ่อการเจาะบ่อทดสอบมีวัตถุประสงค์ที่จะหาความลึกของแหล่งน้ำบาดาลจุดที่ชั้นน้ำบาดาลหนาที่สุด จุดที่น้ำบาดาลมากที่สุดคุณภาพน้ำที่ดีที่สุด ผลจากการทดสอบและรายละเอียดการตรวจสอบอื่นๆ เช่นการตรวจสอบชั้นหิน การตรวจชั้นน้ำด้วยเครื่องมือไฟฟ้าและการทดสอบปริมาณน้ำเมื่อมาประเมินให้ถูกหลักก็จะกำหนดจุดเจาะให้ได้ผลดีที่สุดได้แต่ในบางกรณีผู้ที่จะเจาะน้ำบาดาลหรือผู้ที่อยากได้บ่อบาดาลไม่มีประสบการณ์หรือขาดความรู้หรือขาดทุนทรัพย์ที่จะดำเนินการดังกล่าวข้างต้นได้การเลือกที่เจาะจึงมักจะไม่ค่อยถูกหลักยิ่งกว่านั้นบางรายมักจะไปจ้างพ่อมดหมอผีหรือคนทรงนั่งทางในมาเลือกที่เจาะหรือขุดให้ บางรายก็ประสบผลสำเร็จบางรายก็เสียเงินเปล่าที่สำเร็จนั้นส่วนใหญ่มักจะเป็นที่ซึ่งไม่จำเป็นต้องให้ใครเลือกให้หรือไม่จำเป็นต้องใช้หมอผี จะขุดตรงไหนก็ได้น้ำข้อแนะนำข้างล่างนี้ให้ไว้สำหรับประชาชนทั่วไปไม่ใช่เพื่อนักวิชาการและหลักการที่ให้ไว้นี้ ก็เป็นหลักทั่วๆไปไม่ใช่เฉพาะแห่งหนึ่งแห่งใด การเลือกใช้ข้อหนึ่งข้อใดเป็นแนวทางควรที่จะเลือกใช้ลักษณะภูมิประเทศของที่นั้นๆ มาร่วมพิจารณาด้วย

1)พื้นที่ใดมีลักษณะเป็นทุ่งราบ ถามนักธรณีวิทยาได้ความรู้ว่าพื้นที่นั้นรองรับด้วยแหล่งกรวด ทราย หนาเกินกว่า 25 เมตร จากผิวดินลงไปตรวจดูบ่อชาวบ้านถ้ามีบ่อน้ำใช้ตลอดปี ระดับน้ำในบ่อไม่ลึกมากและกรวดทรายที่ชาวบ้านขุดขึ้นมามีลักษณะกลมมน พื้นที่นั้นๆมักจะเป็นแหล่งน้ำ จะเลือกเจาะที่ไหนก็ได้

2)พื้นที่ใดมีลักษณะเหมือนในข้อ 1 แต่กรวดทรายที่ชาวบ้านขุดขึ้นมาไม่กลมมนแต่มีเหลี่ยม มีแง่หรือมุม มีดินเหนียวขาว ๆ ปนอยู่ทั่วไปลักษณะท้องที่นั้น มักจะไม่มีแหล่งน้ำ ทุกจุดที่เจาะการเลือกที่เจาะควรปรึกษานักวิชาการน้ำบาดาลดีกว่าที่จะเลือกเอง

3)พื้นที่ใดเป็นทุ่งราบหรือหุบเขา มีแม่น้ำลำธารไหลผ่าน ตัวน้ำคดเคี้ยวไปมาและมีหาดทรายกว้างขวาง ฤดูฝนมักจะมีน้ำล้นฝั่ง ฤดูแล้งมีน้ำไหลท้องที่นั้นจะเป็นแหล่งน้ำบาดาลอย่างดีจะเจาะตรงไหนก็ได้ไม่จำเป็นต้องไปจ้างคนทรงให้มานั่งทางในชี้จุดเจาะให้

4) พื้นที่ใดเป็นคุ้งน้ำ ควรเลือกเจาะบริเวณคุ้งน้ำด้านที่มีหาดทราย ด้านตรงข้ามซึ่งมีตลิ่งชันและน้ำเซาะไม่ควรเจาะ

5) ท้องที่ใดมีลักษณะเป็นทุ่งราบกว้างขวางริมทะเล จะเจาะที่ไหนก็ได้น้ำบาดาล แต่อย่าเจาะให้ลึกเกินไป อาจได้น้ำเค็ม

6)พื้นที่ใดมีลักษณะเป็นที่ราบลานเทขั้นบันไดหลายชั้นควรเลือกเจาะในบริเวณที่อยู่ระดับที่ต่ำที่สุด ที่ราบอยู่ระดับสูงๆถึงแม้จะมีน้ำก็จะมีระดับลึก

7)โดยปกติจะมีชั้นดินเหนียวสลับอยู่ในชั้นกรวดทราย การขุดบ่อในที่ใดถ้าพบดินเหนียวไม่มีน้ำก็อย่าเพิ่งหมดหวัง ถ้ามีความสามารถจะขุดลึกลงไปอีกก็จะถึงชั้นทรายมีน้ำ

8)บ่อเจาะ หรือขุด ควรอยู่ห่างจากแหล่งน้ำโสโครก เช่น ส้วม หรือ ท่อระบายน้ำให้มาก ที่สุดเท่าที่จะมากได้ กระทรวงสาธารณสุขสหรัฐอเมริกาแนะนำว่าบ่อขุดควรอยู่ห่างจากส้วมไม่น้อยกว่า 50 ฟุต

9)พื้นที่ใดเป็นทุ่งราบแล้ง แต่มีต้นไม้ขึ้นเขียวชอุ่มเป็นแนวยาว เป็นตอน ๆตลอดปี แสดงว่าบริเวณนั้นมีแหล่งน้ำบาดาลซึ่งอาจจะอยู่ในบริเวณร่องน้ำเก่า ๆ ก็ได้ ถ้าจะเจาะน้ำบาดาลบริเวณที่มีป่าไม้ก็จะได้ผล

10)พื้นที่ใดเป็นหินไม่ว่าจะเป็นแบบโผล่ให้เห็นบนผิวดิน หรือฝั่งตื้นๆอยู่ใต้ผิวดินการเลือกเจาะน้ำบาดาลในบริเวณนั้นควรจะให้นักวิชาการเลือกให้หรือให้คำแนะนำ เพราะแหล่งน้ำบาดาลในหินมิได้มีอยู่ทั่ว ๆไปเหมือนในกรวดทราย การเลือกจุดเจาะต้องอาศัยข้อมูลทางธรณีวิทยาเป็นหลักแต่ถ้าจำเป็นต้องเลือกเองจริง ๆ ก็ควรจะเลือกในบริเวณต่ำ ๆยิ่งถ้ามีที่เจาะในที่ซึ่งเป็นหุบแนวยาว ๆ ด้วย ก็ยิ่งมีโอกาสได้น้ำ

11)พื้นที่ที่เป็นแหล่งน้ำเค็ม หรือแหล่งเกลือ ดังเช่นในที่ราบตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือควรจะเลือกที่เจาะในบริเวณที่เป็นเนินสูง ๆ มีป่าหรือพุ่มไม้ทั่วไปเพราะอาจมีโอกาสได้น้ำจืด

12)พื้นที่ซึ่งเป็นภูเขา มีหินแข็งโผล่ให้เห็นทั่วไปชั้นหินก็เอียงเทลงไปทางเชิงเขาไม่ควรอย่างยิ่งที่จะเจาะน้ำบาดาลในบริเวณนั้น แต่ถ้าต้องการน้ำจริงๆก็ควรเลื่อนที่เจาะลงไปทางเชิงเขาอาจจะได้น้ำ และน้ำอาจจะพุ

 

การเจาะน้ำบาดาล

การเจาะบ่อเป็นเรื่องทางเทคนิคของช่างเจาะโดยเฉพาะ แต่การเจาะจะได้ผล ต้องอยู่ที่ผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ด้วยไม่ว่าจะเป็นเจ้าของบริษัทผู้รับเหมาเจาะหรือผู้จ้างเจาะ หรือแม้แต่ผู้วางแผนการเจาะปัญหาสำคัญประการแรกที่เกี่ยวข้อง ได้แก่การเลือกใช้เครื่องเจาะให้ถูกต้องการเลือกประเภทเครื่องเจาะนี้ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบสำคัญหลายประการ เช่นวัตถุประสงค์ที่จะเอาน้ำมาใช้ ปริมาณน้ำที่ต้องการ ความลึกของน้ำบาดาลสภาพความแข็งและการวางตัวของชั้นหิน และงบประมาณค่าใช้จ่ายปัญหาเรื่องการเลือกใช้เครื่องเจาะไม่ถูกหลักนี้มีบ่อยๆ ในประเทศไทยตัวอย่างเช่นครั้งหนึ่งบริษัทผู้รับเหมาไปเจาะบ่อในแหล่งหินปูนบริเวณอำเภอปากช่องจังหวัดนครราชสีมา โดยใช้เครื่องเจาะแบบ Reverse rotaryเครื่องเจาะประเภทนี้เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าไม่อาจจะเจาะในหินแข็ง เช่นหินปูน ซึ่งโพรงมากมายได้ฉะนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นจึงมิใช่เฉพาะแต่เจาะไม่ลงอย่างเดียวยังมีปัญหาเรื่องน้ำที่ต้องใช้มากมาย แต่ซึมหายลงไปในโพรงหมดด้วยเมื่อพบปัญหาเรื่องนี้ผู้รับเหมาจึงเปลี่ยนเครื่องมาใช้เครื่องเจาะเพชรซึ่งก็เจาะได้ลึกถึง 400 ฟุต ตามต้องการ แต่เจาะได้รูขนาด 2.5 นิ้วจะคว้านรูโตขึ้นเพื่อใส่ท่อกรุก็ไม่ได้เพราะเครื่องเจาะหัวเพชรไม่ใช่เครื่องเจาะน้ำบาดาลรวมเวลาที่เสียไปเพราะใช้เครื่องเจาะไม่ถูกต้องนี้ประมาณ 6 เดือนต่อมาทางกรมทรัพยากรธรณีได้รับคำร้องขอจากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องให้ไปช่วยแก้ไข กรมทรัพยากรธรณีนำเครื่องเจาะแบบใช้ลมเจาะ ไปดำเนินการให้และเจาะเสร็จภายใน 20 วัน

การก่อสร้างบ่อ(Well Completion)

การทำรูเจาะ ( Hole )ให้เป็นบ่อน้ำ ( Water Well ) พร้อมที่จะพัฒนาเอาน้ำขึ้นมาใช้ได้เรียกว่าการทำบ่อ ( Well Completion ) ซึ่งประกอบด้วยการออกแบบบ่อ ( WellDesign ) การใส่ท่อกรุท่อกรอง และการกรุกรวด ( Gravel Packing)

1.การออกแบบบ่อ

การออกแบบบ่อหมายถึงการนำรายละเอียดต่าง ๆ ที่ได้จากการเจาะบ่อนั้น ๆมาวางแผนการทำบ่อให้ได้ผลที่สุด ทั้งด้านปริมาณน้ำและคุณภาพน้ำหลักใหญ่ของการออกแบบ อยู่ที่การใส่ท่อกรุและท่อกรองให้ถูกขนาดและถูกตำแหน่งที่ควรจะอยู่ เช่นท่อกรองจะต้องมีความยาวอย่างน้อย 2/3 ของความหนาของชั้นน้ำตำแหน่งของท่อกรองจะต้องอยู่ตรงกับชั้นน้ำในกรณีที่บ่อนั้นเจาะผ่านชั้นน้ำเค็มก็ต้องกำหนดวิธีการอุดหรือกันน้ำเค็มไม่ให้ปนกับน้ำจืด และเข้ามาในบ่อเหล่านี้ เป็นต้น เพื่อเป็นอุทาหรณ์ใคร่จะนำการออกแบบบ่อจริง ๆบ่อหนึ่งมาเป็นตัวอย่างดังนี้

บ่อกรมทรัพยากรธรณีบริเวณใกล้เคียงอำเภอพระประแดง เจาะลึก 900 ฟุต ด้วยหัวเจาะขนาด ? 6 1/4 นิ้ว มีจุดประสงค์ที่จะเจาะสำรวจสภาพน้ำบาดาลและชั้นหินและพัฒนาเอาน้ำจืดขึ้นมาใช้ด้วย บ่อนี้เจาะชั้นกรวดทรายและดินเหนียวสลับกันไปถึงก้นบ่อ จากการตรวจด้วยเครื่องตรวจชั้นน้ำแบบไฟฟ้า และแบบกัมมันตภาพรังสี ปรากฏว่า มีชั้นทรายน้ำจืดอยู่ที่ความลึก252-307 ฟุต

1. คว้านบ่อด้วยหัวเจาะ 15 นิ้ว เพื่อใส่ท่อกรุและท่อกรองขนาด 8 นิ้ว

2. คว้านบ่อลงไปจนถึง 350 ฟุต ละปล่อยให้เศษดินลักรวดทรายลงไปถมถึง 900 ฟุต หากไม่เต็มก็ต้องหาดินหรือทรายจาก

ภายนอกใส่เพิ่มเข้าไปจนเต็มถึงระดับ 350 ฟุต

3. อุดซีเมนต์ในบ่อที่คว้านขนาด 15 นิ้วนี้แล้ว จาก 295 ฟุต ไปจนถึง 350 ฟุต เพื่อไม่ให้น้ำ เค็ม ชั้นล่างเข้ามาปนน้ำจืด

(ระยะจาก 295-307 ฟุต ซึ่งเป็นชั้นน้ำจืดนั้นอุดซีเมนต์ไว้ด้วย เพื่อให้การอุดมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น)

4. ใส่ท่อกรุขนาด 8 นิ้ว จากผิวดินลงไปจนถึงความลึก 270 ฟุต จาก 270-290 ฟุต ใส่ท่อกรองขนาดเดียวกัน โดยใช้ท่อ

กรองขนาดช่องว่าง 50/1000 นิ้ว จากระดับ 290-295 ฟุต อันเป็นระดับซีเมนต์ก้นบ่อ ใส่ท่อกรุอีกท่อนหนึ่งขนาดเดียว

กัน ปลายท่อกรุล่างสุดปิด

5. ใส่กรวดคัดขนาด 1/8 – 1/4 นิ้ว รอบๆ ท่อกรองและท่อกรุ จากระดับ 265-295 ฟุต

6. ช่องว่างระหว่างท่อกรุกับผนังบ่อ ตั้งแต่ผิวดินจนถึง 265 ฟุต อุดไว้ด้วยซีเมนต์อีกครั้งเพื่อกันน้ำเค็มตอนบนลงไปปนน้ำจืด

7. ซีเมนต์ที่ใช้ทั้งหมดคำนวณได้ 18 ตัน ผลการทำบ่อนี้ ปรากฏว่า เมื่อพัฒนาบ่อเสร็จแล้ว ได้น้ำจืดตามความประสงค์

 

2. การใส่ท่อกรุท่อกรอง

ท่อกรุเป็นเหล็กเหนียวใช้ใส่ในบ่อเพื่อเป็นผนังถาวรของบ่อและเป็นเรือนรับหัวดูดของเครื่องสูบน้ำบาดาลด้วยบ่อทุกบ่อที่จะเจาะในหินร่วนต้องใส่ท่อกรุเพื่อกันไม่ให้บ่อพังบ่อเจาะในหินแข็งซึ่งเมื่อถูกน้ำแช่นาน จะแตกเปื่อยยุ่ยเช่นหินดินดานก็ต้องใส่ท่อกรุด้วยส่วนบ่อที่เจาะในหินแข็งซึ่งสามารถจะทรงตัวอยู่ได้ไม่ว่าจะมีน้ำหรือไม่มีก็ไม่จำเป็นต้องใส่ บ่อที่ไม่ใส่ท่อกรุเรียกว่า บ่อเปิด ( Open Hole )

 

ท่อกรุบ่อน้ำบาดาลส่วนใหญ่ยาวประมาณ 20 ฟุต โดยเฉลี่ยมีหลายขนาดตั้งแต่ 4นิ้ว จนถึง 24 นิ้ว การเลือกใช้ท่อกรุ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่จะใช้น้ำเช่น ถ้าใช้น้ำสำหรับครัวเรือนก็ใช้ขนาดเล็ก 4-6 นิ้วถ้าใช้น้ำเพื่อกิจการอื่น ๆ ที่ต้องการน้ำมาก ๆ ก็ใช้ขนาดตั้งแต่ 8นิ้วขึ้นไป ทั้งนี้เพื่อสะดวกแก่การติดตั้งเครื่องสูบที่มีขนาดต่าง ๆ กันตารางข้างล่างแสดงความสัมพันธ์ระหว่างขนาดท่อกรุกับปริมาณน้ำที่จะสูบใช้ได้มากที่สุด โดยใช้เครื่องสูบน้ำแบบเทอร์ไบน์(โดยมีข้อแม้ว่าชั้นน้ำจะให้น้ำได้มากเท่ากับหรือเกินค่าที่กำหนดไว้ในตาราง)

 

 

ท่อกรุขนาด (นิ้ว)

สูบน้ำได้มากที่สุด(แกลลอน/นาที)


4

6

8

10

12

14

16


30

200

500

800

1,200

2,000

3,000

 

หมายเหต อัตราการสูบน้ำ 4.4 แกลลอนต่อนาที ( gpm ) เท่ากับอัตราสูบ ๑ ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ( m 3 / h )

 

 

ในการทำบ่อ บางกรณีใส่ท่อกรุตลอดตั้งแต่ปากบ่อจนถึงก้นบ่อ ที่ระยะลึก ๆอาจลดขนาดท่อลงเพื่อประหยัดเงิน บริเวณที่เป็นชั้นน้ำจะเจาะรู ( Slotted )หรือเซาะร่อง ( Perforated )ไว้ให้เป็นทางน้ำไหลเข้าบ่อการใช่ท่อกรุแบบเจาะรูหรือเซาะร่องนี้มีส่วนดีที่ราคาถูกกว่าท่อกรองมาก และยังทำได้ง่ายเพราะเจาะหรือเซาะเอาเองได้โดยใช้เครื่องเจาะหรือเครื่องเซาะร่อง (Perforator ) หรือใช้หัวตัดไฟแก๊สข้อเสียของท่อเซาะร่องอยู่ที่ไม่อาจจะเซาะให้รูถี่มาก ๆจำนวนช่องว่างที่จะให้น้ำไหลเข้าบ่อจึงมีน้อย และไม่อาจจะเซาะให้รูเล็กๆพอที่จะกันไม่ให้ทรายเม็ดเล็กลอดเข้าไปในบ่อบ่อบาดาลที่สูบน้ำปนออกมากับทราย มีผลเนื่องจากเหตุนี้

บ่อที่ต้องการประสิทธิภาพสูง สูบน้ำได้มาก และไม่มีทรายปน จะต้องใช้ท่อกรอง (Screen ) แทนท่อเซาะร่อง ท่อกรองทำขึ้นจากการเอาลวดเหลี่ยมซึ่งมีหน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู พันรอบๆโครงเหล็ก หรือพันรอบ ๆท่อเหล็กซึ่งเจาะรูขนาดใหญ่ โดยใช้ด้านหน้ากว้างของเส้นลวดอยู่ด้านนอกช่องว่างระหว่างเส้นลวดมีขนาดต่างๆ กัน คิดเป็นเศษของ 1000ส่วนของนิ้ว และเรียกช่องว่างขนาดต่างๆ นี้ว่า Slot Number ฉะนั้นท่อกรองขนาด Slot No.50 หมายความว่ามีช่องว่างขนาด 50/1000 นิ้วหรือท่อกรองขนาด Slot No.20 หมายความว่ามีช่องว่างขนาด 20/1000 นิ้วเป็นต้น วัสดุที่เอามาใช้ทำท่อกรองมีมากมายหลายชนิดทั้งประเภทที่ทนความกัดกร่อนหรือสนิมแต่ที่นิยมใช้กันมักทำด้วยโลหะผสมที่เรียกว่า Red brass, Stainless Steelหรือ Evader Metal ความยาวของท่อกรองแต่ละท่อนที่ใช้กันทั่ว ๆ ไปมีตั้งแต่5 ฟุต 10 ฟุต และ 20 ฟุต และมีขนาดแตกต่างกันเหมือนท่อกรุท่อกรองใช้ร่วมกับท่อกรุได้ ทั้งแบบต่อกันโดยใช้ข้อต่อหรือใช้สวมเข้าไปในท่อกรุแบบสวมในท่อกรุจะมีช่องว่างระหว่างปลายซึ่งเหลื่อมกันอยู่ช่องว่างนี้อุดให้แน่นด้วยตะกั่วหรือยางส่วนดีของท่อกรองอยู่ที่ใช้ได้ดีที่สุดในชั้นน้ำประเภททรายขนาดต่างๆ ปนกันหรือในชั้นทรายปนกรวดในการเลือกใช้ท่อกรองให้ถูกต้องจำเป็นต้องรู้ขนาดต่างๆของเม็ดทรายเสียก่อน แล้วจึงเลือกใช้ท่อที่มีขนาดช่องว่างเหมาะสมโดยถือหลักว่ายอมให้เม็ดทรายละเอียดผ่านรูท่อกรองเข้าไปได้ประมาณ 50-60เปอร์เซ็นต์ ทรายเม็ดหยาบหรือกรวดที่ค้างอยู่นอกท่อจะทำตัวเป็นชั้นน้ำที่มีความพรุนและความซึมได้สูงน้ำจึงไหลผ่านได้มากทั้งยังช่วยกรองน้ำได้ด้วย ข้อเสียของท่อกรองส่วนใหญ่เกี่ยวกับราคาซึ่งมักจะแพงกว่า ท่อกรุเซาะร่องธรรมดาไม่น้อยกว่า 15 เท่า

 

 

3. การกรุกรวด(Gravel Packing)

 

ได้กล่าวในตอนต้นแล้วว่าช่องว่างระหว่างผนังบ่อกับท่อกรองต้องใส่กรวดไว้โดยรอบกรวดเหล่านี้ทำหน้าที่เหมือนกับบ่ออีกบ่อหนึ่งหุ้มบ่อจริงไว้บ่อเทียมนี้ประกอบด้วยกรวดที่มีความพรุนและความซึมได้สูงจึงยอมให้น้ำไหลผ่านได้มากที่สุด นอกนั้นยังช่วยกรองตะกอนต่าง ๆไม่ให้เข้าไปในบ่อจริง ๆ และช่วยกันไม่ให้ดินหรือทรายจากส่วนอื่น ๆพังลงไปทับท่อกรุหรือท่อกรองด้วย กรวดที่กรุลงไปข้าง ๆ บ่อนี้ถ้าทำได้ถูกต้องจริง ๆ จะทำให้น้ำไหลเข้าบ่อมากกว่าธรรมดาและแก้ไขปัญหาเรื่องทรายเข้าบ่อได้โดยเด็ดขาดฉะนั้นการใช้กรวดที่ถูกขนาดและได้สัดส่วนกับรูของท่อกรองหรือท่อเซาะร่องและขนาดเม็ดทรายในชั้นน้ำ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งขนาดเม็ดทรายในชั้นน้ำหาได้แน่นอน โดยใช้วิธีการแยกส่วนโดยใช้ตะแกรงร่อนส่วนขนาดท่อกรองรู้ได้โดยตรงจากบริษัทผู้ผลิตซึ่งมักปั๊มเลขขนาดรูเอาไว้ที่ตัวท่อกรองแล้วแต่อย่างไรก็ตามการแยกส่วนเม็ดกรวดทรายโดยให้ตะแกรงร่อนมักจะทำกันไม่ได้ทั่วไป จึงกำหนดขนาดเม็ดกรวดที่ใส่รอบๆบ่อไว้ว่าถ้าได้ขนาดตั้งแต่ทรายหยาบไปจนถึงกรวดขนาด 1/4 นิ้ว ก็จะได้ผลดี

ความหนาของกรวดกรุรอบ ๆ บ่อ ไม่จำเป็นต้องมีขอบเขตอยู่ที่ผนังบ่อแต่ยิ่งหนาได้เท่าไรก็จะยิ่งดีขึ้นเท่านั้นในการพัฒนาบ่อมีวิธีการที่จะให้ผนังบ่อตรงชั้นน้ำขยายกว้างออกไปจึงเป็นช่องทางที่จะให้เติมกรวดเพิ่มให้มีความหนามากขึ้นบ่อที่มีกรวดกรุรอบ ๆ หนามาก จะสูบน้ำได้มากกว่าบ่อที่มีกรวดกรุบางๆเสมอไป

 

4. การพัฒนาบ่อ

 

เป็นงานขั้นสุดท้ายในการทำบ่อก่อนที่จะสูบน้ำจากบ่อออกไปใช้การพัฒนาบ่อมีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้บ่อมีน้ำเพิ่มมากขึ้นป้องกันไม่ให้ทรายเข้าบ่อ และทำให้อายุการใช้งานของบ่อ ยืนยาวขึ้นโดยมีรายละเอียดการดำเนินการบรรยายไว้ใน คู่มือการเป่าล้างบ่อน้ำบาดาล

 

 

5. การทดสอบปริมาณน้ำ

 

บ่อที่พัฒนาเสร็จเรียบร้อยแล้วถือว่าพร้อมที่จะติดตั้งเครื่องสูบ สูบน้ำขึ้นมาใช้แต่ในทางปฏิบัติควรจะทดสอบปริมาณน้ำ ( Pumping test ) เสียก่อนเพื่อให้ได้รายละเอียดเกี่ยวกับปริมาณน้ำที่จะสูบขึ้นมาได้และเพื่อหาข้อมูลสำหรับการเลือกใช้เครื่องสูบให้ถูกต้องโดยมีรายละเอียดการดำเนินการบรรยายไว้ใน คู่มือ การทดสอบปริมาณน้ำ 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


Advertising Zone    Close

Online: 2 Visits: 12,082 Today: 12 PageView/Month: 14

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...